[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 6 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ข่าวกิจการสภา
การบริหารงาน
การบริหารเงินงบประมาณ
การบริหารและพัฒนาบุคคล
จัดการเรื่องร้องเรียนทุจริต
การป้องกันทุจริต
มาตรการป้องกันการทุจริต

 
  

  หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
เรื่อง : ภาษีที่ดิน 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่ เช็คอัตราภาษี
โดย : admin
เข้าชม : 141
อาทิตย์ ที่ 14 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2567 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ภาษีที่ดิน 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่ เช็คอัตราภาษี
04 พฤษภาคม 2567 by adminkmk 17,476
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกฎหมายใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อปี 2563 นี่เอง ซึ่งพอเริ่มใช้ปุ๊ปก็ดันเจอโควิด-19 เล่นงาน จนต้องปรับลดอัตราภาษีที่ดินมาตลอด จนเข้าปี 2567 นี้ รัฐบาลก็เห็นว่า โควิดคลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มผงกหัว มีแรงหนุนภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ทำให้ ภาษีที่ดิน 2567 รัฐบาลตัดสินใจจะไม่มีการลดหย่อนภาษีที่ดินอีกต่อไป เก็บเต็ม ๆ 100%
วันนี้พี่ทุยมาอัปเดต ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 ที่ดินแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีเท่าไหร่ และต้องชำระภาษีเมื่อไหร่ ไปดูกัน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร
ก็คือภาษีรายปีที่เก็บและคิดจากมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เราครอบครอง โดยมีองค์กรท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. เป็นผู้จัดเก็บ
โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดิน คือ
1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
หรือ 2. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ซึ่งกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 เป็นกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ ภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งซ้ำซ้อนกัน
 ประเภทของ ภาษีที่ดิน 2567
แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ ดังนี้
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
สำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินที่มูลค่าเกิน 50 ล้าน จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรกแต่ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ
สำหรับเจ้าของที่เป็นนิติบุคคล ก็เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
อัตราภาษีปัจจุบัน จัดเก็บ 0.01-0.1%
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%
สำหรับบ้านหลังหลัก ที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
สำหรับเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน (คอนโดมิเนียม หรือสร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า) จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
แต่สำหรับคนมีบ้านหลายหลัง ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ที่ดินหรือบ้านหลังที่ 2 จะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้น
อัตราภาษีปัจจุบัน จัดเก็บ 0.02-0.1%
ข้อยกเว้น : หากเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมรดกมาจะได้ลดภาษีอีก 50%
 
ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาได้รับมรดกเป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย หากจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มี.ค. 2562 จะได้ลดภาษีที่ดิน 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.20%
หมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
อัตราภาษีปัจจุบัน จัดเก็บ 0.3-0.7%
ที่รกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%
ถ้ามีที่ดินเปล่าแต่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ใดใด จะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียภาษีแพงที่สุด
และถ้าปล่อยรกร้างไว้นานติดต่อกัน 3 ปี เมื่อไปเสียภาษีในปีที่ 4 จะถูกเก็บเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก ๆ 3 ปีที่ปล่อยที่ดินรกร้าง แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%
อัตราภาษีปัจจุบัน จัดเก็บ 0.3-0.7%
ปี 2567 ภาษีที่ดิน เก็บเต็ม 100% ไม่ลดให้แล้ว
แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอสังหาฯ เรียกร้องให้มีการต่ออายุมาตรการลดภาษีที่ดิน 15% ของภาษีที่คำนวณได้ ของปี 2566 แต่กระทรวงมหาดไทยมองว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงจะจัดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2567 ในอัตราปกติ 100% ไม่มีลดหย่อน เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ ที่ต้องจัดสรรงบประมาณมาชดเชยให้กับหน่วยงานท้องถิ่น
วิธีคำนวณ ภาษีที่ดิน 2567
 ราคาประเมินนั้นจะมีรัฐเป็นผู้ประกาศ ซึ่งในบางกรณีอาจมีมูลค่ายกเว้นจุดนี้ต้องสอบที่ดินและสินทรัพย์ของเราอีกทีว่า เข้าข่ายและได้รับมูลค่ายกเว้นหรือไม่
ตรวจสอบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ กรมธนารักษ์
ตัวอย่างการคำนวณ ภาษีที่ดิน 2567
เช่น พี่ทุยมีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 70 ล้านบาท
ทรัพย์สินส่วน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี
ส่วนที่เหลืออีก 20 ล้านบาท นำมาคำนวณภาษี 0.03% เท่ากับต้องเสียภาษี 6,000 บาท
จ่าย ภาษีที่ดิน 2567 เมื่อไหร่? ที่ไหน?
การชำระภาษี
เพื่อบรรเทาภาระประชาชน รัฐบาลขยายเวลาการชำระให้อีก 2 เดือน จากเดิมภายในเดือน เม.ย. 2567 ขยายเวลาเป็นภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2567 แต่หากต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเกิน 3,000 บาท เราสามารถใช้สิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย
สถานที่ชำระภาษี
สามารถชำระภาษีที่ดินได้ด้วยตัวเอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ คือ
กรุงเทพ : ชำระภาษีที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่
พัทยา : ชำระภาษีที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
ต่างจังหวัด : ชำระภาษีที่สำนักงานเทศบาล/ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบล/ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายกำหนด หรือสถานที่อื่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด รวมทั้งจุดบริการเคลื่อนที่ที่ อปท. กำหนด
หากจ่ายภาษีช้า ต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่
ใครที่จ่ายภาษีที่ดินเกินระยะเวลาที่กำหนด จะต้องเสียภาษีค้างชำระ รวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
1. หากไม่มาชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ต่อมาได้มาชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
 2. หากมาชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
3. หากมาชำระภาษีภายหลังจากที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
4. หากไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน
5. กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และได้ชำระภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น ให้คิดเงินเพิ่มลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือน
6. เบี้ยปรับอาจงดได้ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมาย โดยเราจะต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อของดเบี้ยปรับของภาษีที่ค้างชำระ
จัดการ ภาษีที่ดิน 2567 อย่างไร ?
พี่ทุยว่าใครที่มีที่ดินเยอะ มีบ้านหรือคอนโดหลายแห่ง หรือมีพื้นที่รกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ “การจัดการภาษีเป็นสิ่งสำคัญมาก” ไม่งั้นจะต้องเสียภาษีกันเหงื่อตกแน่ ๆ
สำหรับคนที่มีบ้านหลายหลังควรทำอย่างไร ?
เนื่องจากมูลค่าบ้านและที่ดินนั้นมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง คงไม่แปลกถ้าหากเรามีเงินแล้วเราจะเก็บความมั่งคั่งของเราไว้ในรูปแบบบ้านและที่ดิน แต่ถ้าเรามีบ้านและที่ดินเยอะ จะมีวิธีลดภาษีอย่างไรบ้าง ?
1. โอนบ้านเป็นชื่อทายาทหรือลูกหลาน – หากเราอยากมอบเป็นมรดกให้ลูกของเราอยู่แล้ว การโอนบ้านเป็นชื่อลูกนั้น จะได้รับสิทธิบ้านหลังแรก ซึ่งยกเว้นภาษี 50 ล้าน
 2. ย้ายชื่อไปอยู่บ้านที่แพงที่สุด – บ้านหลังแรกหรือบ้านที่เราอยู่จะยกเว้นภาษี 50 ล้าน ดังนั้นการที่เราเลือกให้ชื่อที่เราอยู่ในบ้านหลังที่แพงที่สุดก็จะช่วยประหยัดภาษีได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ถ้ามีที่ดินเปล่าควรทำอย่างไร ?
เนื่องจากรัฐสนับสนุนให้เพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินไม่ปล่อยให้รกร้าง จึงเก็บภาษีที่ดินเปล่าแพงกว่าที่ดินประเภทอื่น ๆ ซึ่งหากยังปล่อยรกร้างต่อก็จะโดนอัตราภาษีที่สูงขึ้นทุก ๆ ปี อีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินที่เรามี
 
1. แบ่งแปลงที่ดินให้เล็กลง – เพราะภาษีนั้นคิดเป็นแบบขั้นบันได ยิ่งแปลนที่ดินใหญ่ก็จะยิ่งเสียภาษีเยอะ ดังนั้นการที่เราแบ่งแปลนที่ดินเป็นหลาย ๆ แปลงจะทำให้ราคาประเมินถูกลง ก็จะเสียภาษีน้อยลง
2. แปลงที่ดินรกร้างเป็นที่ดินเกษตรกรรม – การแปลงที่ดินเปล่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากจะทำให้เสียภาษีน้อยลงแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้อีกทางด้วย แต่ที่ดินบางที่ก็อาจจะไม่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เช่น ภูมิประเทศ พื้นที่ในเมือง หรืออาจจะติดด้วยข้อกำหนดบางอย่างอาจทำให้
3. สร้างบ้านในที่ดินที่มี – ถ้าเรามีที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งอาจจะเสียภาษีในฐานที่สูง อาจจะเลือกที่จะสร้างบ้านไว้ในที่ดินนั้น ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลงมาได้เพราะกลายเป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัยทันที
 แต่การเปลี่ยนที่ดินรกร้างให้เป็นที่ดินเกษตรกรรม ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
แม้ว่าการเปลี่ยนที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ด้วยการทำเกษตรกรรมจะสามารถทำได้ แต่ไม่ใช่ว่าแค่เอากล้วยไปปลูกก็จบนะ เพราะมีข้อกำหนดรายละเอียดอยู่
ไม่ใช่แค่ปลูกพืชแล้วจะเสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนประเภทที่ดิน แต่ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนยืนยันตัวตนว่าเป็น “เกษตรกร” ที่สำนักงานกลุ่มทะเบียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตรด้วย
จากนั้น ต้องติดต่อให้สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งของพื้นที่ดินแปลงนั้นอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปสำรวจและยืนยันหลักฐานก่อนขึ้นทะเบียนให้ “โดยไม่ใช่ขึ้นทะเบียนครั้งเดียวและจบ ใช้ได้ตลอด” แต่ต้องต่อทะเบียนหรือ “ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกปี” เพราะโดยปกติแล้ว พื้นที่ทางการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เช่น เปลี่ยนพื้นผลที่ปลูกตามฤดูกาล เปลี่ยนจากปลูกพืชเป็นเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
สาเหตุหลัก ที่การเปลี่ยนที่ดินรกร้างเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรมมีขั้นตอนยุ่งยาก ก็เพื่อไม่ให้เจ้าของที่ดินรกร้างทิ้งไว้ว่างเปล่าแอบอ้างเป็นเกษตรกรตัวปลอมเพื่อรับประโยชน์ทางภาษี โดยไม่ได้ตั้งใจจะพัฒนาที่ดินนั้นอย่างจริงจัง
หรือหากใครสนใจเปลี่ยนพื้นที่ดินให้กลายเป็นเกษตรกรรมสามารถอ่านรายละเอียด หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมได้ที่ ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย
 ประโยชน์ของ ภาษีที่ดิน 2567
เนื่องจากที่ดินรกร้างนั้นถูกเก็บภาษีในอัตราที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงเป็นการผลักดันให้ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมจากภาครัฐ
อีกประการภาษีที่ดินนี้จะไม่ได้เข้าไปในสรรพกรหรือกระทรวงการคลัง แต่เป็นเงินที่จะไปเป็นงบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เท่ากับท้องถิ่นจะมีรายได้ไปดำเนินกิจกรรมในชุมชนของตัวเองได้
 
คลิ๊กเพื่อเข้าดูรายละเอียดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)
       
 เริ่มนับ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566
ผู้ใช้งานขณะนี้  13  คน
             สถิติวันนี้       1,503   คน 
             สถิติเมื่อวานนี้ 2,048   คน 
             สถิติเดือนนี้    24,903   คน 
             สถิติเดือนที่แล้ว34,258   คน 
             สถิติปีนี้        179,820   คน 
             สถิติทั้งหมด    208,592   คน 
IP ของท่านคือ 223.205.226.62






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวประชาสัมพันธ์5 อันดับล่าสุด

      นโยบาย และแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง 16/พ.ค./2568
      ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองเรื่องมาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง 29/เม.ย./2568
      ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองเรื่องมาตรการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ 29/เม.ย./2568
      ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองเรื่องมาตรการป้องกันการให้หรือรับสินบน 29/เม.ย./2568
      ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง เรื่อง มาตรการป้องกันการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ 29/เม.ย./2568


Based on : HuamueangLocal


Based on : HuamueangLocal